ทราบว่าอาจารย์จบวิศวะ แต่ทำไมถึงมาสอนหนังสือล่ะคะ
"งานสอนเป็นงานที่พี่รัก และชอบมากกว่าการทำงานอื่นๆครับ พี่จะมีความสุขทุกครั้งๆที่ทราบว่า
น้องๆลูกศิษย์ของพี่มีความเข้าใจในมากขึ้นในเรื่องที่เคยเรียนแต่ไม่เข้าใจมาก่อน
และจะมีความสุขยิ่งขึ้นไปอีก เมื่อได้เห็นน้องๆประสบความสำเร็จในการเรียน สอบได้คะแนนดี
และสอบEnt ติดได้คณะที่ต้องการ"

แล้วทำไมถึงมาสอนคณิตศาสตร์ล่ะคะ
เป็นเพราะชอบวิชานี้เป็นพิเศษหรือเปล่า
"ไม่เลย ถ้าเป็นตอนสมัยเรียนอยู่ม.1 - ม.2 พี่พูดได้เต็มปากเลยว่าเกลียดเลขมากๆ
เพราะรู้สึกว่าเป็นวิชาที่ยาก แม้ตั้งใจเรียนในห้อง เข้าใจ และจำสูตรได้ทุกสูตร
แต่ก็ทำข้อสอบไม่ได้ซักที ตอนนั้นคณิตศาสตร์ก็เป็นวิชาที่พี่ได้คะแนนแย่ที่สุดด้วย"

อ้าว! ไม่ชอบ แล้วทำไมมาสอนคณิตศาสตร์ล่ะคะ
(จะเรียนด้วยดีมั้ยเนี่ย??)
"ก็เพราะมันมีจุดเปลี่ยนตอนพี่เรียนอยู่ ม.3 น่ะครับ พี่ได้ค้นพบเคล็ดลับการเรียนคณิตศาสตร์
ด้วยตัวเอง ซึ่งทำให้พี่ได้คะแนนเต็มในการสอบทุกครั้งตลอดปีเลยทีเดียว
จากนั้นพี่ก็รู้สึกว่าชอบวิชานี้ขึ้นมามากเลย"

แล้วเคล็ดลับที่ว่านั้นมันคือ อะไรหรือคะ
(อยากรู้จัง จะได้เก่งเลขกับเค้าบ้าง)
"เคล็ดลับที่ว่าก็คือ ถ้าอยากเรียนเก่งก็ต้องอ่านหนังสือให้มากใช่มั้ยครับ
คณิตศาสตร์ก็เช่นเดียวกัน แต่การอ่านหนังสือในวิชาคณิตศาสตร์จะทำเหมือนวิชาอื่นๆ
คืออ่านอย่างเดียวไม่ได้ แต่จะต้องลงมือทำโจทย์ด้วยตนเอง ทำจนได้คำตอบสุดท้าย
อย่างที่พี่มักจะบอกกับน้องๆลูกศิษย์ของพี่เสมอว่า อ่านเฉลยโจทย์สิบรอบ
ก็ยังสู้ลองทำโจทย์ข้อนั้นด้วยตัวเองแค่ครั้งเดียวไม่ได้"

แต่หนูก็ว่าหนูก็ขยันทำโจทย์แล้วนะคะ
แต่ทำไมยังทำข้อสอบที่โรงเรียนไม่ได้
"เราต้องเข้าใจธรรมชาติของโจทย์ข้อสอบในวิชาคณิตศาสตร์เสียก่อนว่าจริงๆ
แล้วอาจแบ่งเป็นสองประเภท คือ
    1. โจทย์ BASIC โจทย์พวกนี้ไม่ยากเกินไปนัก หากเข้าใจเนื้อหา จำสูตรได้
มีการฝึกฝนทำโจทย์พอสมควรก็จะทำโจทย์ประเภทนี้ได้แน่นอน
    2. โจทย์ TECHNIC โจทย์พวกนี้ยากมาก อาจจะทำโดยใช้สูตร หรือวิธีการธรรมดาไม่ออก
แต่จะต้องมีเทคนิคลึกล้ำพิสดาร ซึ่งอาจเป็นวิธีการที่ได้ใช้เฉพาะข้อนั้นข้อเดียว"

อย่างนี้แสดงว่าที่โรงเรียนคงออกข้อสอบเป็นโจทย์เทคนิคทุกข้อแน่เลยค่ะ ก็หนูทำแทบไม่ได้เลยนี่นา
"(ยิ้ม) แหมคงไม่ใช่อย่างนั้นหรอกครับ เพราะโดยส่วนใหญ่ข้อสอบที่โรงเรียน
ทำเพื่อวัดว่านักเรียนมีความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนมากน้อยเพียงใด
จึงมักจะออกข้อสอบโดยเป็นโจทย์ BASIC เกือบทั้งหมด แต่ข้อสอบ ที่ใช้คัดเลือก
เช่น ข้อสอบเข้าม.4 หรือข้อสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย จึงจะมีสัดส่วนเป็นโจทย์เทคนิคมากขึ้น
เนื่องจากต้องการคัดเลือกเด็กที่เก่งที่สุด หากออกแต่โจทย์ BASIC เด็กที่เก่งในระดับหนึ่ง
ก็จะทำข้อสอบได้ทุกข้อเหมือนกัน ได้คะแนนเต็มกันหมด ก็คัดเลือกนักเรียนไม่ได้
ยิ่งข้อสอบแข่งขันอย่าง ข้อสอบสมาคมคณิตศาสตร์ หรือข้อสอบคัดเลือกโอลิมปิก
ก็จะยิ่งมีสัดส่วนโจทย์เทคนิคมากขึ้นอีก"

แล้วอย่างหนูเนี่ย ทั้งๆที่ขยันทำโจทย์มากมายแล้ว
แต่ก็ยังทำข้อสอบที่อาจารย์ว่าเป็นแค่โจทย์ BASIC ไม่ได้
เป็นเพราะอะไรคะ
"ก่อนจะตอบคำถาม ก็ขออธิบายต่อก่อนในเรื่องธรรมชาติของโจทย์ว่า
จริงแล้วโจทย์คณิตศาสตร์ในแต่ละบทที่ดูเหมือนว่ามีเป็นร้อยเป็นพันข้อไม่เหมือนกันเลยนั้น
จริงๆแล้วสามารถแบ่งเป็นรูปแบบไม่กี่รูปแบบเท่านั้น
เช่น โจทย์ในเรื่องตรรกศาสตร์ที่จะออกเป็นข้อสอบได้จริงแล้วมีแค่ 5 รูปแบบใหญ่เท่านั้นเอง
ซึ่งหากเราเข้าใจ รู้วิธีในการทำโจทย์แต่ละรูปแบบ และฝึกฝนทำโจทย์ในทุกรูปแบบ
ให้ครบถ้วนแล้ว เราจะทำโจทย์ BASIC ในเรื่องนั้นได้แน่นอน
ทีนี้คำถามของหนูก็อาจเป็นไปได้ว่า เราขยันทำโจทย์มากจริง
แต่อาจฝึกทำไม่ครอบคลุมทุกรูปแบบ เวลาไปเจอรูปแบบที่ไม่เคยฝึกทำจึงทำไม่ได้"

แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรคะ ว่าในแต่ละเรื่องข้อสอบจะออกได้กี่รูปแบบบ้าง
"เรื่องการจำแนกรูปแบบโจทย์นั้นยากที่นักเรียนจะทำได้เอง แต่เป็นเรื่องสำคัญ
ที่ครูผู้สอนที่ดีควรจะจำแนกให้นักเรียนได้เข้าใจให้ได้ ซึ่งเรื่องการจำแนกรูปแบบโจทย์นั้น
พี่จะเน้นย้ำในทุกคอร์สและทุกบทที่พี่สอน นอกจากนี้ในพี่จะให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกด้วย
ในข้อสอบต่าง เช่น ONET, PAT1, SMART-I จะเจอรูปแบบใดบ่อยๆบ้าง"

คอร์สเตรียม ENT ของพี่มีความแตกต่างจากที่อื่นอย่างไรบ้างคะ
"ถ้าจะให้สรุปสั้นๆนะครับ ก็คือ ที่นี่เรารู้จริงในแนวข้อสอบในทุกหลักสูตรที่สอน
ไม่ว่าจะเป็น O-NET, PAT1, SMART-I, CU-AAT หรือสอบรับตรงคณะยอดนิยมอื่นๆ
จากการที่เรารู้จริงในแนวข้อสอบ เราจึงสอนได้ตรงจุดกว่า
รวมถึงเทคนิคที่เราจะสอนให้ในแต่ละหลักสูตรต้องได้ใช้จริงแน่ๆในการสอบ
เรียนกับเราจึงประหยัดเวลาในการเตรียมตัวสอบ
และประหยัดสมองด้วยเพราะเราจะสอนแต่สิ่งที่ข้อสอบออกเท่านั้น"

ท้ายที่สุดนี้ อยากจะให้อาจารย์ช่วยแนะนำหน่อยค่ะ
ว่าทำอย่างไรถึงจะเก่งคณิตศาสตร์
"อยากเก่งก็ง่ายนิดเดียวเองครับ เพียงแต่น้องต้องขยันทำโจทย์ด้วยตัวเองให้มากๆ
แค่นี้น้องก็จะเก่งขึ้นแน่นอน พยายามเข้านะครับ"